Silicone

ซิลิโคน Silicone 

          เรียกได้ว่า เป็นวัสดุยอดนิยม ที่นำมาทำเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย โดยมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ของงาน ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง งานอุตสาหกรรม รวมถึงใช้ในการแพทย์

ซิลิโคนคืออะไร

          ซิลิโคนเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน แบบควบแน่น ประกอบด้วยสารอนินทรีย์สำคัญ คือ ซิลิคอน (Si) ที่ได้จากการสังเคราะห์ ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คือ เมทิลซิลิโคน หรือ โพลิไดเมทิลไซลอกเซน ซึ่งมีธาตุออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบร่วมในโมเลกุล

          ด้วยคุณสมบัติของซิลิโคนที่เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ แบบควบแน่นที่ทำให้ซิลิโคน มีคุณสมบัติที่แข็งแรงยืดหยุ่น ทนความร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี รวมถึงยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าอีกด้วย

การสังเคราะห์ซิลิโคน

          ชื่อเรียกของ “ซิลิโคน” นั้น แต่เดิมมีที่มาจากสารเคมีไซลอกเซน (Siloxane) จากการสังเคราะห์ผลงานของนักวิทยาศาสตร์เคมีชาวอังกฤษ ดร.คิปปิง (Dr. Frederic Stanley Kipping ที่ค้นพบการสังเคราะห์สารที่มีโครงสร้างคล้ายสารคีโตน แต่มีธาตุซิลิกอนแทนที่โครงสร้างของคาร์บอน

  ต่อมาสารเคมีดังกล่าว ได้ถูกพัฒนาเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยการพัฒนาครั้งสำคัญของดร. โรเชาว์ (Dr. Eugene George Rochow) นักวิจัยด้านฉนวนไฟฟ้า ได้ทำการคิดค้นสารที่เรียกว่า เมทิลซิลิโคน ขึ้นมาใหม่ โดยใช้หลักการที่ใช้แนวคิดจากการสังเคราะห์สารไตรคลอโรไซเลน (HSiCl3) ที่เกิดจากการสังเคราะห์ระหว่าง ซิลิกอนกับกรดไฮโครคลอริก

2Si + 6HCl → 2HSiCl3 + 2H2
ซิลิกอน (Si) ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก (HCl) โดยมีทองแดง (Cu) เป็นตัวเร่ง

ประโยชน์ของซิลิโคน

          ด้านสุขภาพ ซิลิโคนช่วยเพิ่มความแข็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวกันในร่างกาย แล้วยังไม่เป็นอันตรายกับร่างกายมนุษย์ จึงนำมาใช้การแพทย์เช่น การสร้างอวัยเทียม การเสริมจมูก รวมถึงยังสามารถเสริมความแข็งแรงให้กับข้อต่อกระดูกต่าง ๆ ที่ต้องการความยืดหยุ่นได้อีกด้วย

ในเชิงอุตสาหกรรม ซิลิโคนนิยมใช้เป็นฉนวนทนความร้อน และฉนวนไฟฟ้าที่ดี นอกจากนี้ยังใช้เป็นกาวเชื่อมประกบวัสดุเข้าด้วยกันในการก่อสร้าง และมีการใช้ซิลิโคนในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ร่วมด้วย

Verified by MonsterInsights