เกรดยาง epdm

              มีหลายเกรด แต่ละเกรดแตกต่างกันที่สัดส่วนของเอทธิลีนและโพรพิลีน รวมถึงปริมาณของไดอีน โดยทั่วไป ยางชนิดนี้มีเอทธิลีนอยู่ในช่วง 45-85% โมล (หรือ 40-80% โดยน้ำหนัก) แต่เกรดที่มีขายกันโดยทั่วไปจะมีปริมาณเอทธิลีนอยู่ประมาณ 50-70% โมลและมีปริมาณของไดอีนอยู่ในช่วง 3-11% โมล แม้ว่าได้อีนที่ใช้กันอย่างกว้างขวางจะมีอยู่ 3 ชนิด ดังนี้

              1. dicyclopentadiene (DCPD)

              2. ethylidene norbornene (ENB)

              3. trans-1,4-hexadiene (1,4 HD)

              โดยชนิดที่ใช้กันมากที่สุด ได้แก่ ENB เนื่องจากจะทำให้โมเลกุลของยางว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชั่นหรือปฏิกิริยาคงรูปด้วยกำมะถันสูงที่สุด แม้ว่าการใช้ 1,4 HD จะทำให้ยางเกิดปฏิกิริยาการคงรูปไดช้ากว่า ENB แต่สมบัติบางประการของยางจะดีกว่าเช่น ความทนทานต่อความร้อน รวมถึงการบดผสมและการขึ้นรูปยางก็จะทำได้ง่ายกว่าเนื่องจากโมเลกุลของยางมีโครงสร้างเป็นเส้นตรง (linear molecules) ส่วนการใช้ DCPD จะทำให้ยางเกิดปฏิกิริยาคงรูปได้ช้าที่สุด
              สัดส่วนของเอทธิลีนและโพรพิลีนในยางก็มีผลกระทบโดยตรงต่อสมบัติของยาง กล่าวคือยางที่มีปริมาณเอทธิลีนสูงจะมีความแข็งแรงในสภาพที่ยังไม่คงรูปสูง แต่เมื่อปริมาณของเอทธิลีนลดลง ยางก็จะนิ่มและยืดหยุ่นมากขึ้น
              นอกจากจะมีการแบ่งเกรดตามชนิดและปริมาณของไดอีนและสัดส่วนของเอทธิลีนและโพรพิลีนแล้ว ยังมีการแบ่งเกรดยาง EPDM ตามความหนืด (น้ำหนักโมเลกุล)อีกด้วย โดยทั่วไป สามารถแบ่งยางตามค่าความหนืดมูนนี่ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
              1.ยางเกรดที่ความหนืดต่ำถึงปานกลาง (low-medium viscosity) โดยมีค่าความหนืด ML(1+4) @100 C อยู่ในช่วง 25 ถึง 60
              2.ยางเกรดที่ความหนืดปานกลางถึงสูง (medium-high viscosity) โดยมีค่าความหนืด ML(1+4) @125 C อยู่ในช่วง 60 ถึง 100
              3.ยางเกรดที่ความหนืดสูงมาก (very high viscosity) โดยมีค่าความหนืด ML (1+4) @125 C อยู่ในช่วง 100 ถึง 200

              ยางเกรดที่มีความหนืดต่ำแม้ว่าจะสามารถนำไปแปรรูปได้ง่าย แต่ยางจะมีความสามารถรับสารตัวเติมได้ในปริมาณปานกลางเท่านั้นจึงเหมาะกับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูก
              ทาง Misui Chemicals , Japan เป็นผู้ผลิตยางสังเคราะห์ EPDM ได้แบ่งเกรดสินค้าตามสัดส่วนไดอีน สัดส่วนเอทิลีน สัดส่วนโพรพิลีน ความหนืด และเกรดที่มี oil และ non-oil ในยางสังเคราะห์ด้วย ตามตารางด้านล่าง

GradeMooney ViscosityEthylene Content (%)Diene Content (%)Oil Content (phr)Packaging
ML(1+4) 125℃ML(1+4) 100℃FormWrapingkg/unit formkg/Pallet
00454051BaleLDPE251,050
2060M40552.3BaleLDPE251,050
304540564.7BaleLDPE251,050
307047584.7BaleLDPE251,050
3092M61654.6FriableLDPE251,050
3110M78565.0FriableLDPE25750
X-3042E37664.7120BaleLDPE251,050
3062EM43654.520BaleLDPE25750
3072EM51645.440BaleLDPE251,050
3090EM59485.210BaleLDPE251,050
X-4010M8547.6BaleLow melt POE251,050
402124518.1BaleLDPE251,050
404545548.1BaleLDPE251,050
4045M45457.6BaleLDPE251,050
407047568.1BaleLDPE251,050
8030M32479.525BaleLDPE25900
9090M584114.025BaleLDPE25900
8120E61(150℃)569.520FriableLDPE24720
X-3012P15723.6PelletPaper Bag25750
3092PM61654.6PelletPaper Bag25750
3072EPM51645.440PelletPaper Bag25750
K-9720207710.4PelletPaper Bag25750
PX-049PEM36(150℃)565.010FriableLDPE25750

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

  1. http://oknation.nationtv.tv/blog/obbie-tt/2010/08/22/entry-1
  2. Mitsui Chemical Inc., Japan
Verified by MonsterInsights