โพลียูรีเทน โพลียูรีเทน
คืออะไร รู้จักคุณสมบัติ และข้อควรระวังในการใช้งาน
โพลียูรีเทน (Polyurethane) หรือที่นิยมใช้ในตัวย่อว่า PU คือ สารพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยชีวเคมีระหว่างการเชื่อมต่อของยูรีเทนและพอลิเมอร์ของโพลียูรีเทน โดยมีการประกอบกันขึ้นมาจากมอนอเมอร์เป็นอย่างน้อย 2 ชนิด สำหรับวัสดุที่โพลียูรีเทนเป็นส่วนประกอบนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะโดดเด่นของคุณสมบัติ อันได้แก่ ความเหนียว ความแข็งและความหนาแน่น ดังตัวอย่างเช่น
– โฟมอ่อนความหนาแน่นต่ำ มักจะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเตียง
– โฟมแข็งความหนาแน่นต่ำ มักจะนำมาใช้ทำเป็นฉนวนสำหรับรถยนต์
– อีลาสโตเมอร์อ่อน มักจะนำมาใช้ในพวกแผ่นยางเป็นหลัก
– พลาสติกแข็ง มักจะนำมาใช้ในการทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ โพลียูรีเทนก็ยังสามารถนำมาใช้ในการเคลือบสีเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้อีกด้วย เพราะสามารถทนต่อสารเคมีและการขูดขีดได้ดี จึงช่วยปกป้องไม่ให้เฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นรอยได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังคงความสวยงามในตลอดการใช้งาน เรียกว่าเป็นตัวช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้เฟอร์นิเจอร์ไม้ได้เป็นอย่างดี
สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
โพลียูรีเทน สามารถติดไฟได้อย่างรวดเร็วและค่อนข้างง่าย จึงเปรียบดั่งเชื้อไฟชนิดดีที่ควรนำมาใช้อย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ โพลียูรีเทนยังมีควันหนาแน่นและอาจปล่อยแก๊สพิษออกมาเมื่อติดไฟอีกด้วย ดังนั้นจึงควรระวังอย่าให้โพลียูรีเทนอยู่ใกล้กับวัตถุไวไฟ หรืออยู่ใกล้กับจุดที่อาจติดไฟได้ง่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดไฟจนส่งผลเสีย
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโพลียูรีเทน
ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากโพลียูรีเทนหลายกลุ่มด้วยกัน เนื่องจากโพลียูรีเทนมีความยืดหยุ่นและทนทานสูง จึงสามารถนำมาใช้ในการผลิตได้อย่างหลากหลาย ทั้งยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยผลิตภัณฑ์จากโพลียูรีเทนที่มักจะพบบ่อยๆ ก็คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย วัสดุใส่ในหมอนและวัสดุประกอบไม้-พลาสติก นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิดได้ด้วยเช่นกัน
เพราะอะไรจึงต้องใช้โพลียูรีเทนโฟม?
เนื่องจากในปัจจุบันโพลียูรีเทนโฟมกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและถูกนำมาใช้งานมากที่สุด จึงอาจเกิดความสงสัยสำหรับหลายคนว่า เพราะอะไรจึงต้องใช้โพลียูรีเทนโฟม โดยเหตุผลก็เพราะว่า
– มีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนความร้อนได้ดี สามารถกันเสียงและกันการรั่วซึมได้อย่างดีเยี่ยม
– ต้นทุนต่ำ ช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้เป็นอย่างมาก
– มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้งานสูง ทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ อีกด้วย
– มีความคงทนต่อแรงอัดและแรงดึง จึงสามารถนำมาใช้งานได้อย่างคุ้มค่า
– ไม่อมน้ำและไม่ซึมน้ำ ทั้งสามารถดูดซับความชื้นได้ต่ำสุดอีกด้วย
– มีความคงตัวสูงทั้งเปลี่ยนรูปจากเดิมได้ยาก
– ป้องกันความร้อนจากผนังบ้านและหลังคาบ้านได้มากถึง 90% จึงเหมาะกับการนำมาใช้เป็นฉนวนกันความร้อนเป็นอย่างมาก
– เมื่อใช้เป็นฉนวนกันความร้อนกับบ้านจะทำให้บ้านเย็นลง ช่วยประหยัดพลังงานและคลายร้อนได้ไปในตัว
ฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟม มีประโยชน์อย่างไร
– ป้องกันความร้อนเย็นได้ดี เพราะมีค่าการนำความร้อนต่ำมาก จึงสามารถกันความร้อนจากหลังคาบ้านและผนังได้มากกว่า 90%
– มีค่าการซึมผ่านของน้ำได้ไม่เกิน 2% จึงสามารถป้องกันการรั่วซึมได้ ทั้งไม่ทำให้เกิดกลิ่นอับ หรือเชื้อแบคทีเรียต่างๆ อีกด้วย นิยมใช้พ่นใต้พื้นบ้าน
ที่เป็นพื้นไม้เพื่อป้องกันความชื้นขึ้นมาบนพื้น
– ทนต่อความเป็นกรด-ด่างได้สูง เนื่องจากโพลียูรีเทนโฟมไม่ละลายในกรดด่าง
– แม้จะติดไฟได้ แต่ก็ไม่ลามไฟแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะได้มีการผสมสารกันไฟไว้มากถึง 15% นั่นเอง
– ไม่มีสารพิษเจือปน จึงไม่ทำให้เกิดการแพ้หรือการระคายเคือง
– ป้องกันสัตว์หรือแมลงเข้ามารบกวนได้ดี
– มีน้ำหนักเบามาก และสามารถรับน้ำหนักแรงกดได้มากถึง 2.20 กิโลกรัม
– สามารถติดตั้งได้ง่ายและไม่ยุบตัว จึงมีความสวยงามและใช้งานได้อย่างคุ้มค่า
– สามารถลดความดังของเสียงและกั้นเสียงได้อย่างดีเยี่ยม
– ช่วยลดอุณหภูมิในห้อง ทำให้ห้องเย็นและประหยัดพลังงานได้มากกว่า 50% โดยเฉพาะห้องที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ เพราะด้วยอุณหภูมิในห้องที่เย็นลง
จึงทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไป จึงประหยัดการใช้พลังงานได้ดีทีเดียว
– มีคุณสมบัติในการควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้ดี เพราะโพลียูรีเทนโฟมจะเป็นตัวกั้นกลางระหว่างความร้อนและความเย็น จึงทำให้ไม่เกิดการเกาะตัว
เป็นไอน้ำนั่นเองซึ่งเทคนิคนี้จะนิยมใช้กับห้องเย็นหรือตู้เย็นที่สุด
ในปัจจุบัน โพลียูรีเทนโฟมกำลังได้รับความนิยมและมีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องด้วยคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานสุดๆ ทั้งมีราคาถูกและช่วยประหยัดต้นทุน ได้เป็นอย่างมากอีกด้วย แต่อย่างที่รู้กันดีว่า โพลียูรีโพเทนนั้นสามารถติดไฟได้ง่าย และอาจปล่อยแก๊สพิษออกมา ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อผู้คนและสัตว์ได้เป็นอย่างมาก จึงต้องระมัดระวังการใช้งาน อย่าให้โพลียูรีเทนโฟมติดไฟ เพราะอาจเกิดปัญหาการใช้งานตามมาได้นั่นเอง